ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกภาษาไทย :)

หัวใจชายหนุ่ม

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความซื่อสัตย์

ประโยชน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์
1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม
2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม
4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากกความหวาดระแวง
6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น
8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น
9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา
10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม
12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้

สุภาษิต คำพังเพย เกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์
1. ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน 
2. เสียชีพอย่าเสียสัตย์ 
3. กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา  
4. คดในข้องอในกระดูก 
5. สิบแปดมงกุฎ 
6. ฉ้อราษฎร์บังหลวง 
7. ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก 
8.หน้าเนื้อใจเสือ  
9. ผักชีโรยหน้า 
10. ปากว่าตาขยิบ

กิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึก"ความซื่อสัตย์"
1. นำเสนอตัวอย่างที่ดีอย่างสมำเสมอจนเกิดความเคยชินหรือเกิดความสงสัย และสามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมตรงกันข้ามจะได้รับผลอย่างไร
2. ยกย่องสรรเสริญให้เป็นขวัญและกำลังใจกับผู้ประกอบความดี ประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
3. แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดีไม่มีอคติเมื่อผู้เรียนประพฤติไม่ถูกต้องเพื่อจะได้ปรับตนใหม่ให้เป็นไปตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
4. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง เช่น พูดคุย สัมภาณ์บุคคลตัวอย่างในท้องถิ่น
5. ให้เด็กหรือผู้เรียนเรียนรู้ตามตัวอย่างจากสื่อต่าง ๆ เช่น นิทาน ละคร  ภาพยนตร์  สารคดี ชีวิตจริงของบุคคลที่ประพฤติตนอย่างซื่อสัตย์สุจริต แล้ววิเคราะห์และสรุปผลด้วยตนเอง ให้ทำหลายๆ ครั้งอย่างสมำเสมอในสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
6. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนได้วิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์หรือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันหลาย ๆ ครั้ง ทั้งการวิเคราะห์เป็นกลุ่มและการวิเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเชิงเหตุและผลทั้งด้านดีและไม่ดี และทั้งที่หาข้อยุติหรืออาจยังหาข้อยุติไม่ได้
7. ให้ได้แสดงเจตนารมณ์เป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมที่จะประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของความซื่อสัตย์สุจริต  คุณะรรมจริยธรรม เช่น การมีคติพจน์ประจำใจ  การสร้างสัญลักษณ์ของพฤติกรรม  ฯลฯ

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทย ด้วยการเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง

          รู้ไหมว่า "ใคร" เป็นต้นเหตุให้คนไทยมีปัญหาในการใช้ภาษาไทย
คำตอบก็คือ ร้อยละ ๘๐.๖  ระบุว่ากลุ่มวัยรุ่น, ร้อยละ  ๔๖.๐  ระบุเป็นกลุ่ม
นักร้อง, ร้อยละ  ๔๔.๘  ระบุเป็นกลุ่มดารานักแสดง, ร้อยละ  ๑๘.๑
ระบุผู้ดำเนินรายการวิทยุ, ร้อยละ  ๑๗.๒ ระบุเป็นนักการเมือง, ร้อยละ ๑๗.๒ 
ระบุเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์, ร้อยละ ๑๕.๘ ระบุเป็นผู้ประกาศข่าว
และร้อยละ  ๘.๙ ระบุเป็นครูอาจารย์ ตามลำดับ...แปลกเนาะ..ไม่มีใคร
โทษตัวเองว่าไม่สนใจเอง
          ยังน่าดีใจที่ร้อยละ  ๙๒.๕ เห็นว่าเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยโดยเร็ว

อ้างอิง :  บล็อกของคุณลูกเสือหมายเลข ๙  เรื่อง  "น่าวิตกที่คนไทยสอบตก    
             ภาษาไทย"  เมื่อวันที่  ๒๔  กรกฎาคม  ๒๕๕๒ - ขอขอบคุณ  


ความเป็นห่วงของราชบัณฑิต สาขาภาษาไทย

ศ.ดร.กาญจนา  นาคสกุล  ราชบัณฑิต  สำนักศิลปกรรม  ประเภทวรรณศิลป์  สาขาภาษาไทย   อดีตผู้จัดรายการภาษาไทยวันละคำ  กล่าวถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันว่า  วัยรุ่นเป็นกลุ่มที่มีการใช้ภาษาไทยผิดพลาดมากที่สุด   ทั้งการพูดและการเขียนไม่ถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล  มีการดัดแปลงคำ 
ตัวสะกด  ตัวการันต์ให้ผิดเพี้ยนไปตามกระแสนิยม  รวมทั้งการออกเสียงรวบคำหรือตัดคำให้สั้นลง   ใช้คำควบกล้ำไม่ถูกต้องจนเกิดความเคยชิน  เมื่อเขียนไปจึงไม่ถูกต้อง  ส่วนมากจะเกิดขึ้นในอินเทอร์เน็ต  แม้จะไม่เป็นทางการ  แต่หาก
ใช้คำผิดตลอดเวลา  ก็จะไม่รู้ว่าภาษาไทยที่ถูกต้องนั้นเขียนอย่างไร

     "สิ่งที่น่าห่วงคือ  การใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องในวัยเด็ก  จะส่งผลกระทบต่อการเรียนหนังสือในระดับสูงขึ้นไป  เพราะไม่สามารถเรียบเรียงข้อความหรือเขียนเรื่องราวยาว ๆ  ได้  และใช้ข้อความไม่สมบูรณ์  แต่ละประโยคไม่ปะติดปะต่อกัน  กระโดดข้ามไปข้ามมา  คนอ่านก็ไม่เข้าใจว่าเราต้องการสื่อสารอะไร  และมีปัญหาการเรียนในที่สุด"  ศ.ดร.กาญจนา กล่าว

     ราชบัณฑิต  สาขาภาษาไทย  ชี้ให้เห็นว่า  ทุกวันนี้มีคำหรือสำนวนภาษาใหม่ๆ  เกิดขึ้นตลอดเวลา  ราชบัณฑิตยสถานพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลไปอยู่ในคลังคำ  แต่มีหลายคำที่มีความหมายไม่ดี   คำหยาบคาย  ก็ไม่ควรใช้  เช่น  เด็กผู้หญิงสมัยนี้ชอบนุ่งกระโปรงเอวต่ำ  ก็จะพูดว่า   นุ่งกระโปรงเสมอจิ๋ม  และกลุ่มรักร่วมเพศ  ก็ใช้คำว่า  อีแอบ  เก้งกวาง  เพื่อเรียกคนที่เป็นเกย์กะเทย  ก็ไม่ถูกต้องเพราะเป็นคำล่อแหลมไม่สุภาพ  และภาษาเก่าเปลี่ยนความหมาย  ส่วนศิลปินนักร้องออกเสียงไม่ถูกต้อง  เช่น  ร.เรือ  และ  ล.ลิง  อย่างไรก็ตาม  ภาษามีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องยึดแก่นหรือหลักการใช้ให้ถูกต้อง

     "สาเหตุที่ใช้ภาษาไทยผิดกันเยอะ  เพราะระบบการศึกษา  ครูไม่สอนให้นักเรียนเขียนหนังสือ  บันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวความคิด  เวลาสอบก็ใช้วิธีกากบาทหรือวงกลมลงในช่องคำตอบ  ทำให้ไม่มีทักษะการเขียนอย่างถูกต้อง"  ศ.ดร.กาญจนา เผย

อ้างอิง :   บล็อกของคุณติ่ง  เรื่อง ระบบศึกษาตัวการภาษาไทยวิบัติ !
               เมื่อวันที่  ๑๔  สิงหาคม  ๒๕๕๒ - ขอขอบคุณ



ทำอย่างไรจึงจะกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ช่วยกันเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง

การตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทย นั้น  สิ่งที่ควรทำก่อนสิ่งใด  ก็คือ

การกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกให้ช่วยกันเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง

การกระตุ้นและปลูกจิตสำนึก สามารถกระทำได้ด้วย  

๑. การเล็งเห็นประโยชน์ของการเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง
๒. การเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินความพยายาม
๓. มีหน่วยงานราชการและศูนย์ภาษาไทยที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ
๔. มีตำราภาษาไทย ในเรื่องการใช้ภาษาให้ถูกต้อง  อยู่มากมาย
๕. มีพจนานุกรมสำหรับอ้างอิง ในกรณีไม่แน่ใจว่าคำที่ถูกต้อง
         เขียนอย่างไร
๖. เป็นการช่วยชาติ ในการรักษาสมบัติวัฒนธรรมภาษาไทยให้
         คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

เมื่อมีจิตสำนึกที่จะเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องแล้ว  ขั้นตอนต่อไปก็คง
ไม่ยาก  เป็นขั้นตอนในการเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง  
 
๑.  ศึกษาหลักการเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง
๒.  ลงมือเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง
๓.  เมื่อสงสัยคำใด  ให้เปิดค้นหาคำที่ถูกต้อง  จากเว็บไซต์
     พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  หรือจากหนังสือพจนานุกรม
     ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
๔.  เมื่อสงสัยว่าประโยคใดจะเขียนไม่ถูกต้อง  ก็ค้นหาได้จากตำรา
     ภาษาไทย ในเรื่องการใช้ภาษาให้ถูกต้อง หรือสอบถามไปที่
     ราชบัณฑิตยสถาน  หรือสอบถามไปยังศูนย์ภาษาไทย  หรือจาก
     ผู้รู้ภาษาไทยดี
๕.  หมั่นฝึกฝนในการเขียนภาษาไทยอยู่เสมอ